รับปรึกษากฏหมายธุรกิจ โทร : 061-789-1954
สมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลาง (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศด้วย นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตรซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากเพราะเป็นดินดอนปากแม่น้ำ มีภูเขา 1 ลูก (เขายี่สาร) ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย
ปลายปี พ.ศ. 2550 ผลการสำรวจดัชนีความมั่นคงของมนุษย์พบว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุดในประเทศไทย
- คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม
- ตราประจำจังหวัด : รูปกลองลอยน้ำ
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นจิกเล (Barringtonia asiatica)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกจิกเล
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : หอยหลอดชนิด Solen regularis
- ลักษณะรูปร่างของจังหวัด : ลักษณะรูปร่างของจังหวัดสมุทรสงครามมีรูปร่างคล้ายกับหัวของสมเสร็จ
เราเป็นสำนักงานกฎหมายที่ให้ บริการทางด้านกฎหมาย ที่ปรึกษาทางกฎหมาย ที่ปรึกษาทำสัญญา เร่งรัดหนี้สิน ว่าความทั่วราชอาณาจักร ประกอบด้วยทีมงานที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และความเชี่ยวชาญงานแต่ละด้านเป็นอย่างดี จึงสามารถดำเนินการได้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ามาตรฐานในระดับสากล
มุ่งเน้นการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาพร้อมทั้งให้ข้อมูลกฎหมายในทุกมิติ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับลูกค้าของเราอย่างสูงสุดและคิดราคาอย่างยุติธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ท่านสามารถโทรติดต่อขอคำปรึกษาและสนทนาพูดคุยกับเราได้โดยตรงตลอด 24 ชั่วโมง เราให้การรับรองว่า ทุกคำปรึกษา ทุกการสนทนา จะเป็นประโยชน์แก่ท่านอย่างแน่นอน
มีปัญหาด้านกฎหมาย สัญญาต่างๆ เร่งรัดหนี้สิน การว่าคดีความต่างๆ โทร.
061-789-1954 คุณวิทูร
094-568-7891 คุณพิทูรย์
087-912-0069 คุณวัฒนา
บริษัท ต่อรอง จำกัด
"ต่อรองให้เป็นต่อ"
มีมาตราฐานในการทำงานในระดับนานาชาติและทำงานร่วมกับสำนักกฎหมายอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างครอบคุลมทุกปัญหา มุ่งเน้นถึงผลประโยชน์ของตัวความเป็นที่ตั้ง พร้อมเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานของเอกชน หน่วยงานของรัฐ และบุคคลทั่วไป โดยทีมทนายความมืออาชีพ พื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ และคิดราคาอย่างยุติธรรม
งานด้านกฎหมาย • ที่ปรึกษาทำสัญญา • เร่งรัดหนี้สิน • ว่าความทั่วราชอาณาจักร
งานด้านกฎหมาย
- ให้คำปรึกษากฎหมาย ได้แก่ เป็นที่ปรึกษากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ มรดก แรงงาน เวนคืนทุกประเภท และรับว่าความเป็นทนายเพื่อเจรจาต่อรอง และแก้ไขข้อพิพาท
- ดำเนินการยื่นฟ้อง คดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญา การร้องขอฟื้นฟูกิจการ รวมไปถึงการยื่นอุทธรณ์และฎีกาและการแก้อุทธรณ์หรือฎีกา
- การบังคับคดีตามคำพิพากษา เช่น การอายัดทรัพย์ การยึดทรัพย์ การขายทอดตลาด การขอกันส่วน การขอเฉลี่ยหนี้ การร้องขัดทรัพย์ และการขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิหรือการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
งานที่ปรึกษาทำสัญญา
- ให้บริการร่างสัญญาประเภทต่างๆ เช่น สัญญาธุรกิจการค้า สัญญาการเงิน สัญญาร่วมลงทุน สัญญาปรับปรุงโครงสร้างกิจการ สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสัญญาอื่นๆ ทุกประเภท
งานบริการเร่งรัดและติดตามหนี้สิน
- การจัดทำแผนในการเร่งรัดหนี้ เจรจาต่อรองเรียกเก็บหนี้ การประนอมหนี้และการทำแผนการเรียกเก็บหนี้ในกลุ่มลูกหนี้โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการฟ้องร้องเป็๋นคดีความ
- การสืบหาตัวบุคคลตามหมายจับคดีอาญา สืบหาบุคคลสาบสูญ สืบหาตัวบุคคล
งานว่าความต่างๆ
- ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่สถานประกอบการ รับว่าความคดีในชั้นศาลทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
ประวัติศาสตร์
จังหวัดสมุทรสงครามหรือเมืองแม่กลอง ในอดีตคือแขวงบางช้างของเมืองราชบุรี ชื่อบางช้างอาจตั้งตามพระนามในเจ้าพลาย (ในปี พ.ศ. 2173 เจ้าพลายและเจ้าแสนซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่หนึ่งและพระราชโอรสองค์ที่สองตามลำดับในสมเด็จพระเอกาทศรถ (องค์ขาว) ซึ่งเป็นพระอนุชาพระองค์เดียวที่เราทราบในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (องค์ดำ) ซึ่งไม่มีพระราชโอรส ได้หนีราชภัยมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่แขวงบางช้าง) แขวงบางช้างมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (ตามการแบ่งเขตการปกครองในปัจจุบัน) แขวงบางช้างมีอีกชื่อว่าสวนนอก (มีคำกล่าวที่ว่า "สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง") ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาต่อเนื่องกับสมัยกรุงธนบุรี แขวงบางช้างแยกออกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง" สมุทรสงครามมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พม่าส่งกองทัพผ่านเข้ามาถึงบริเวณตำบลบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชทรงรวบรวมผู้คนสร้างค่ายป้องกันทัพพม่าจนข้าศึกพ่ายแพ้ไป ณ บริเวณค่ายบางกุ้ง นับเป็นการป้องกันการรุกรานของพม่าเข้ามายังไทยครั้งสำคัญในช่วงเวลานั้น
ชื่อเมืองแม่กลองเปลี่ยนเป็นสมุทรสงครามในปีใดนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานไว้ว่าเปลี่ยนราวปี พ.ศ. 2295 ถึงปี พ.ศ. 2299 เพราะจากหลักฐานในหนังสือกฎหมายตราสามดวงว่าด้วยพระราชกำหนดเรื่องการเรียกสินไหมพินัยความ ได้ปรากฏชื่อเมืองแม่กลอง เมืองสาครบุรี และเมืองสมุทรปราการอยู่ และต่อมาพบข้อความในพระราชกำหนดซึ่งตราขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2299 ความระบุว่าโปรดเกล้าฯ ให้พระยารัตนาธิเบศร์ สมุหมณเฑียรบาล เอาตัวขุนวิเศษวานิช (จีนอะปั่นเต็ก) ขุนทิพ และหมื่นรุกอักษร ที่บังอาจกราบบังคมทูลขอตั้งบ่อนเบี้ยในแขวงเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมืองสมุทรปราการทั้ง ๆ ที่มีกฎหมายสั่งห้ามไว้ก่อนแล้ว มาลงโทษ (ปุถุชน บุดดาหวัง, 2543, หน้า 9)
จังหวัดสมุทรสงครามเป็นแผ่นดินที่เกิดขึ้นใหม่จากการทับถมของโคลนตะกอนบริเวณปากแม่น้ำ เกิดเป็นที่ดอนจนกลายมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ ปรากฏชื่อครั้งแรกในนาม “แม่กลอง” นอกจากนั้นตามประวัติของราชินิกุลบางช้าง (ดูเพิ่มเติม ณ บางช้าง) สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีซึ่งเป็นพระราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระญาติวงศ์ มีพระนิวาสสถานดั้งเดิมอยู่ที่แขวงบางช้าง สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีทรงสืบเชื้อสายจากกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์พระร่วง (ราชวงศ์สุโขทัย) แห่งอาณาจักรสุโขทัยโดยที่เจ้าพลายและเจ้าแสน แห่งราชวงศ์สุโขทัยแห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงหนีราชภัยมาตั้งถิ่นฐานที่แขวงบางช้าง จังหวัดสมุทรสงครามจึงเป็นเมืองราชินิกุลบางช้างและราชสกุลแห่งราชวงศ์สุโขทัย มีการสืบทอดนาฏศิลป์ วรรณศิลป์ และการทำอาหาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารชาววัง) ของสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีซึ่งเคยประทับกับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีที่แขวงบางช้างทรงรับถ่ายถอดการทำอาหารจากที่นี่และทรงเป็นผู้ทำอาหารในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานและว่าด้วยงานนักขัตฤกษ์
สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือวัดบ้านแหลม[4] ในสมัยโบราณมีชื่อเรียกว่า วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ในตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเหตุที่ว่าชื่อวัดเป็นชื่อสถานที่ในพื้นที่แห่งหนึ่งในเมืองใกล้เคียงนั้น ก็เพราะว่าในสมัย พ.ศ. 2307 พม่าได้มารุกรานประเทศไทย เข้าตีเมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองมะริด เมืองเพชรบุรี โดยเข้ามาทางด่านสิงขร ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาได้ส่งพระยาพิพัฒน์โกสากับพระยาตากสินเข้ามาตั้งรับข้าศึกที่เมืองเพชรบุรี การสู้รบครั้งนั้นชาวบ้านแหลมในเมืองเพชรบุรี ต้องประสบชะตากรรมสงคราม อพยพไปอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่กลองบริเวณเหนือวัดจำปาซึ่งไม่ไกลจากทะเล อันเป็นพื้นที่สามารถประกอบอาชีพ (ประมง) จึงได้ตั้งรกรากกันในบริเวณนี้ แล้วไปมาหาสู่กันระหว่างแม่กลองกับอำเภอบ้านแหลม
มาวันหนึ่งขณะออกเรือหาปลา ชาวประมงบ้านแหลม ได้พระพุทธรูป 2 องค์ ขณะกำลังจะกลับฝั่ง ปรากฏว่ามีพายุลมแรง ชาวประมงจึงตัดสินใจนำเรือเข้าฝั่งมาทางแม่กลอง แล้วเข้ามาในแม่น้ำแม่กลองเพื่อหลบพายุ แต่เรือก็ยังโคลงเคลงอยู่จนกระทั่งมาถึงวัดศรีจำปา พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรได้ตกลงน้ำ ทำให้ชาวประมงบ้านแหลมกลุ่มนั้นต้องลงไปในแม่น้ำงมหา แต่ก็ไม่พบ จนชาวบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากที่แม่กลองได้งมหาเจอ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดศรีจำปา ความทราบถึงพี่น้องชาวบ้านแหลมที่อยู่ที่เพชรบุรีเข้า ก็ยกขบวนมาทวงพระคืน พี่น้องบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากที่แม่กลองขอพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ที่วัดศรีจำปา โดยยินยอมที่จะเปลี่ยนชื่อวัดจากชื่อวัดศรีจำปาเป็น วัดบ้านแหลม เพื่อเป็นเกียรติไว้แก่ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีที่เป็นผู้ได้พระพุทธรูปองค์นี้ ชาวบ้านแหลมเพชรบุรีจึงได้กลับไป พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมตร ส่วนอีกองค์ (หลวงพ่อทอง) ได้ไปประดิษฐาน ณ วัดเขาตะเครา ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 36 ตำบล 284 หมู่บ้าน
เมืองสมุทรสงคราม
บางคนที
อัมพวา