รับปรึกษากฏหมายธุรกิจ โทร : 061-789-1954
ชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของราชอาณาจักรนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือ เพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้
ใน พ.ศ. 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่า เมืองชุมพรเป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในช่วงนี้ชนชาติจาม แห่งราชอาณาจักรจามปา ถูกชาวเวียดนามรุกราน ชาวจามกลุ่มนี้อพยพเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาครั้งแรก ปรากฏว่ามี "อาสาจาม" ในแผ่นดินนี้ เพื่อการขยายอาณานิคมของกรุงศรีอยุธยา ส่วนหนึ่งต้องมารักษาด่านเมืองชุมพร ซึ่งเป็นเมืองตรี และตั้งชาวจาม เป็นเจ้าเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถในการรบ ที่มีชื่อเสียง เช่น กองอาสาจาม เป็นทหารชั้นดี มีวินัย เชี่ยวชาญการเดินเรือ รับใช้ราชสำนักมานาน และเก่งการค้ามาหลายพันปี
และต่อมาระหว่าง ปี พ.ศ. 2173 - 2199 ในแผ่นดิน พระเจ้าปราสาททองแห่งราชอาณาจักกรุงศรีอยุธยา ได้กวาดต้อนชาวเมืองแถง หรือ (เดียนเบียนฟู) อยู่ในประเทศเวียดนาม และชาวเมืองพงสาลี อยู่ในประเทศลาว มาเป็นพลเมือง เมืองชุมพร เมืองปะทิว(อำเภอปะทิว) เพื่อทำการเกษตรกรรม และเมืองท่าการค้าสำคัญ ตั้งแต่นั้นมา
เดิมชาวจามนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พ.ศ. 1400 นับถือศาสนาพุทธมหายาน และเมื่อค้าขายกับอาหรับก็นับถือ ศาสนาอิสลาม แต่ชาวจามที่มาอยู่เมืองชุมพร ต่อมานับถือ ศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรม ประเพณี เหมือนกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 -600 ปี ที่ชาวจาม เข้าปกครองเมืองชุมพร และดินแดนแถบนี้จนแทบจะไม่เหลือวัฒนธรรมเดิมเลย เช่น ข้าวต้มใบพ้อ ที่ใช้ในงานมงคล เช่นเดียวกับชาวมุสลิม บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา ก็สูญหายไม่ได้ใช้ในงานมงคลแล้ว
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพุทธรักษา (Canna indica)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะเดื่ออุทุมพร (Ficus racemosa)
- คำขวัญประจำจังหวัด: ประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือ ขึ้นชื่อรังนก
- อักษรย่อ: ชพ
เราเป็นสำนักงานกฎหมายที่ให้ บริการทางด้านกฎหมาย ที่ปรึกษาทางกฎหมาย ที่ปรึกษาทำสัญญา เร่งรัดหนี้สิน ว่าความทั่วราชอาณาจักร ประกอบด้วยทีมงานที่มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และความเชี่ยวชาญงานแต่ละด้านเป็นอย่างดี จึงสามารถดำเนินการได้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ามาตรฐานในระดับสากล
มุ่งเน้นการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาพร้อมทั้งให้ข้อมูลกฎหมายในทุกมิติ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับลูกค้าของเราอย่างสูงสุดและคิดราคาอย่างยุติธรรม ตามหลักนิติธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ท่านสามารถโทรติดต่อขอคำปรึกษาและสนทนาพูดคุยกับเราได้โดยตรงตลอด 24 ชั่วโมง เราให้การรับรองว่า ทุกคำปรึกษา ทุกการสนทนา จะเป็นประโยชน์แก่ท่านอย่างแน่นอน
มีปัญหาด้านกฎหมาย สัญญาต่างๆ เร่งรัดหนี้สิน การว่าคดีความต่างๆ โทร.
061-789-1954 คุณวิทูร
094-568-7891 คุณพิทูรย์
087-912-0069 คุณวัฒนา
บริษัท ต่อรอง จำกัด
"ต่อรองให้เป็นต่อ"
มีมาตราฐานในการทำงานในระดับนานาชาติและทำงานร่วมกับสำนักกฎหมายอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างครอบคุลมทุกปัญหา มุ่งเน้นถึงผลประโยชน์ของตัวความเป็นที่ตั้ง พร้อมเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานของเอกชน หน่วยงานของรัฐ และบุคคลทั่วไป โดยทีมทนายความมืออาชีพ พื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ และคิดราคาอย่างยุติธรรม
งานด้านกฎหมาย • ที่ปรึกษาทำสัญญา • เร่งรัดหนี้สิน • ว่าความทั่วราชอาณาจักร
งานด้านกฎหมาย
- ให้คำปรึกษากฎหมาย ได้แก่ เป็นที่ปรึกษากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ มรดก แรงงาน เวนคืนทุกประเภท และรับว่าความเป็นทนายเพื่อเจรจาต่อรอง และแก้ไขข้อพิพาท
- ดำเนินการยื่นฟ้อง คดีแพ่ง คดีอาญา คดีแรงงาน คดีล้มละลาย คดีทรัพย์สินทางปัญญา การร้องขอฟื้นฟูกิจการ รวมไปถึงการยื่นอุทธรณ์และฎีกาและการแก้อุทธรณ์หรือฎีกา
- การบังคับคดีตามคำพิพากษา เช่น การอายัดทรัพย์ การยึดทรัพย์ การขายทอดตลาด การขอกันส่วน การขอเฉลี่ยหนี้ การร้องขัดทรัพย์ และการขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิหรือการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
งานที่ปรึกษาทำสัญญา
- ให้บริการร่างสัญญาประเภทต่างๆ เช่น สัญญาธุรกิจการค้า สัญญาการเงิน สัญญาร่วมลงทุน สัญญาปรับปรุงโครงสร้างกิจการ สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสัญญาอื่นๆ ทุกประเภท
งานบริการเร่งรัดและติดตามหนี้สิน
- การจัดทำแผนในการเร่งรัดหนี้ เจรจาต่อรองเรียกเก็บหนี้ การประนอมหนี้และการทำแผนการเรียกเก็บหนี้ในกลุ่มลูกหนี้โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการฟ้องร้องเป็๋นคดีความ
- การสืบหาตัวบุคคลตามหมายจับคดีอาญา สืบหาบุคคลสาบสูญ สืบหาตัวบุคคล
งานว่าความต่างๆ
- ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่สถานประกอบการ รับว่าความคดีในชั้นศาลทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
ประวัติศาสตร์
ประวัติเมืองชุมพร
คำว่า ชุมพร มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น ชุมพร อีกประการหนึ่ง ในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบ เป็นการบำรุงขวัญทหารในสถานที่ชุมนุม เพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพรหรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมนุมพร” เช่นเดียวกัน
แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของ ตราประจำจังหวัดชุมพร
สมัยกรุงสุโขทัย
เมืองชุมพรเป็นเมืองมีเจ้าเมืองปกครองมายาวนาน ในสมัยสุโขทัยนั้น เป็นเมืองขึ้นต่ออาณาจักรนครศรีธรรมราช ในฐานะเมืองอาณานิคม และเป็นเมืองหน้าด่าน ฝ่ายเหนือ หรือเมืองปีมะแม ถือตราแพะ เป็น 1 ในเมือง 12 เมือง หรือเรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร ของอาณาจักรนครศรีธรรมราช
สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมืองชุมพรในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้แผ่ขยายอาณานิคมลงทางใต้ ชาวจาม มาอยู่ที่เมืองชุมพร เนื่องด้วย ชาวจาม มีความสามารถ การค้า การเดินเรือ และการรบ จะเห็นได้จากทหาร อาสาจาม เป็นทหารชั้นดี ที่รับใช้ราชสำนักตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา มีความสามารถการรบ และการเดินเรือ อย่างเชี่ยวชาญ ตั้งแต่นั้นจนทำให้เมืองชุมพร ต้องขึ้นต่ออาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองอาณานิคม และเป็นเมืองหน้าด่าน ฝ่ายใต้ และเป็นเมืองท่าการค้าสำคัญ ของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เมืองชุมพรจึงมีบทบาทเป็นเมืองหน้าด่าน มาแต่โบราณในอาณาจักรนครศรีธรรมราช และอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ทำให้ไม่มีการก่อสร้างวัตถุถาวรได้ ดังนั้นชาวชุมพรจึงเป็นลูกหลานนักรบที่แท้จริง และควรให้สมญานามบรรพบุรุษว่า “วีรบุรุษนักรบแห่งคอคอดกระ ดินแดนสองฝั่งทะเล" จากการทำศึกสงครามอย่างต่อเนื่องในแต่ละยุคแต่ละสมัย
สมัยกรุงธนบุรี
เมืองชุมพรในสมัยกรุงธนบุรีไม่ค่อยมีบทบาทมากนักเพราะอยู่ในภาวะสงครามของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้งรัชกาล และสืบเนื่องจาก พระชุมพร (พวย) นำกำลังกองทัพบก กองทัพเรือ เมืองชุมพร กำลังพลประมาณ 800 คน ได้สูญเสียจากการรบในช่วงกรุงแตกที่ ค่ายบางกุ้ง จากการส่งกำลังเข้ารักษาพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2305-2308 และเข้าร่วมรบเพื่อตีเมืองนครศรีธรรมราช จึงทำให้เกิดการล้าของชาวเมืองชุมพร
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมืองชุมพรเป็นเมืองท่าค้าขายสำคัญ จนถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ชาวจามยังมีบทบาทในดินแดนแทบนี้ ต่อมา รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็น มณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด และเมื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สามารถเดินเรือได้เอง ชาวจามก็หมดบทบาทลงในเวลาต่อมา
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 70 ตำบล 674 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองชุมพร
อำเภอท่าแซะ
อำเภอปะทิว
อำเภอหลังสวน
อำเภอละแม
อำเภอพะโต๊ะ
อำเภอสวี
อำเภอทุ่งตะโก